มือใหม่หัดถ่ายภาพ บทที่ 3 ค่าเอฟ

มือใหม่หัดถ่ายภาพ บทที่ 3 ค่าเอฟ F-number

 

F-number,Aperture, ค่าเอฟ คือ ความกว้างของรูรับแสงของเลนส์ที่เราใช้

 

Aperture_diagram.svg

“ค่า F ยิ่งน้อย ความกว้างรูรับแสงยิ่งใหญ่ เลนส์จะยิ่งรับแสงได้มาก

ค่า F ยิ่งมาก ความกว้างรูรับแสงยิ่งเล็ก เลนส์จะยิ่งรับแสงได้น้อย”

 

F ค่าน้อย(รูรับแสงกว้าง) ทำให้แสงที่เข้ามาถึงตัวเซนเซอร์รับภาพมากขึ้น ทำให้เราสามารถใช้ความเร็วซัตเตอร์ (speed shutter) ที่เร็วขึ้นได้ หากค่า iso คงที่

จะมีประโยชน์อย่างมากในการถ่ายภาพที่มีแสงน้อย เช่น ตามงานคอนเสิร์ต งานเลี้ยง งานแต่งงาน งานอีเว้นท์ต่างๆ ที่ต้องการใช้ความเร็วซัตเตอร์ที่เร็ว

เพื่อให้ภาพนิ่งและคมชัดจากการที่ใช้ iso น้อยที่สุดเท่าที่สถานณ์การณ์จะเอื้ออำนวย

 

ค่า F ยังมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่ง คือ ชัดตื้นหรือชัดลึกนั่นเอง ภาษาอังกฤษเรียกว่า DOF (depth of field)

Jonquil_flowers_merged

 

มุมบนซ้าย – สังเกตด้านหลังดอกไม้สีขาว หญ้าและดินจะเบลอเล็กน้อย เพราะถ่ายภาพมาด้วยการใช้ F ที่มาก (รูรับแสงเล็ก)

มุมล่างขวา – สังเกตว่าจะเห็นแต่ดอกไม้ ส่วนหญ้าและดินจะเบลอไปหมด เพราะถ่ายภาพมาด้วยการใช้ F ที่น้อย (รูรับแสงใหญ่)

 

ซึ่ง DOF หรือชัดตื้น/ชัดลึกนี้ คือ สิ่งที่ทำให้คนหันมาเล่นกล้อง DSLR กัน เพราะว่าสามารถเปลี่ยนเลนส์ที่มี F กว้างๆ รูรับแสงขนาดใหญ่ได้ ทำให้พื้นหลังเบลอได้

หากถ่ายด้วยมือถือ หรือ กล้องคอมแพ็คที่เปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ ภาพถ่ายมายังไงก็จะแทบจะชัดทั้งภาพ แต่หากเป็นกล้องสามารถเปลี่ยนเลนส์มาใช้เลนส์ที่มีค่า F น้อย (รู้รับแสงกว้าง)

ภาพที่ถ่ายออกมาจะสามารถเบลอฉากหลังได้ ทำให้แบบหรือวัตถุในภาพ เหมือนจะลอยออกมาจากภาพได้ ทำให้ภาพมีมิติ และดึงความน่าสนใจออกมาได้มากกว่าภาพที่ชัดทั้งภาพ

 

 

รับปริญญากลางสายฝน

ภาพตัวอย่างการใช้ F 1.4 ที่ 85mm แบ็คกราวด์จะเบลอมาก สามารถทำให้ภาพมีควาามน่าสนใจ ด้านหลังที่คนเดินไปเดินมารกๆ ทำให้มันเบลอไป

ความน่าสนใจของภาพก็จะอยู่ที่บัณฑิตถือร่ม อมยิ้มอยู่ นั่นเอง…

 

 

ความน่าสนใจของค่า F อื่นๆ เผื่ออยากจะรู้ให้หนักสมอง

1.F ยิ่งน้อย (ขนาดรูรับแสงยิ่งกว้าง) ทำให้ชิ้นเลนส์ที่จะใช้ในการผลิต เส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ขึ้นกว่าเลนส์ที่มีค่า F มาก(รู้รับแสงเล็ก) ทำให้มีเลนส์มีราคาแพงมาก และมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ใหญ่กว่าและหนักกว่าเลนส์ที่มีค่า F แคบ

2. ค่า F คำนวณได้จาก ความยาวโฟกัส/ขนาดเลนส์ผ่านศูนย์กลางของรูที่แสงผ่านเข้ามาในกล้อง

3.ตาคนเรามีค่าเอฟประมาณ 2.1- 8.3

4.แบ็คกราวด์เบลอ จากการใช้ ค่า F กว้างๆ หากใช้ผิดที่ผิดเวลาก็ทำให้ภาพไม่น่าสนใจ

5.ฝรั่งมักจะเรียกเลนส์ที่มีค่า F กว้างๆ (รูรับแสงใหญ่) ว่า speed lens เพราะว่าสามารถใช้ความเร็วซัตเตอร์ (speed shutter)  ที่เร็วได้ดีกว่าเลนส์ที่มีค่า F มาก

 

FAQ คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับค่า F

1.ใช้ F เท่าไหร่ดี

ตอบ ก็ขึ้นอยู่กับว่าเอาไปถ่ายอะไร แล้วก็ใช้เลนส์ระยะอะไร

เช่นการถ่ายแลนด์เสคป (landscape) ภาพภูเขา ต้นไม้ วิวทิวทัศน์ ต่างๆ ก็ควรใช้ F ที่มากหน่อย(รูรับแสงแคบ) เพื่อให้ชัดทั้งภาพ

การถ่ายคน (portrait) สาระสำคัญหากเราไม่ได้เน้นไปที่แบ็คกราวด์เท่าไหร่ เน้นแต่ตัวคน ก็ใช้ F ที่น้อยหน่อย(รู้รับแสงมาก) เพื่อให้พื้นหลังเบลอๆ ไป ความน่าสนใจของภาพจะได้มาอยู่ที่ตัวคนที่เราถ่าย

ฯลฯ


 

ตัวอย่างเพิ่มเติม

ถ่ายถายภาพโดยใช้เอฟแคบ
ถ่ายถายภาพโดยใช้เอฟแคบ เพื่อต้องการให้ภาพชัดทั้งภาพ ใช้ f ประมาณ 4 ขึ้นไป (เลนส์ระยะ 24 mm)

 

ถ่ายถายภาพโดยใช้เอฟกว้าง
ถ่ายถายภาพโดยใช้เอฟกว้าง เพื่อให้ฉากหลักเบลอ ใช้ค่าเอฟประมาณ 2.0 (เลนส์ระยะ 50 mm)

 

“ค่าเอฟยิ่งน้อย ฉากหลังยี่เบลอ เรียกอีกอย่างว่าเอฟกว้าง เช่น  f1.4 f2.2 f2.8 ”

“ค่าเอฟยิ่งมาก ฉากหลังจะไม่เบลอ ชัดทั้งภาพ เรียกอีกอย่างว่าเอฟแคบ เช่นf3.5 f4.0 f8.0”

 

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปโพสต่อที่เว็บไซต์ใดๆและสื่อทุกประเภท ยกเว้นการแปะลิงค์ใน facebook และ google+ เท่านั้น หากต้องการนำบทความไปใช้ กรุณาติดต่อมาที่ line:lastproject.photos 

แสดงความเห็น / Leave a Reply